top of page
main.webp

กูปรี

กูปรี

Kouprey

ลักษณะ

กูปรีเป็นสัตว์กีบคู่ อยู่ในสกุลเดียวกับวัวแดงและกระทิง ลักษณะมีหนอกหลังเป็นสันกล้ามเนื้อบางๆ มีเหนียงเป็นแผ่นหนังห้อยยานอยู่ที่คอ โดยเฉพาะกูปรีเพศผู้ที่มีอายุมาก เหนียงจะห้อยยาวจนเกือบติดดิน ไม่มีสันกระบังที่หน้าผากอย่างกระทิงและวัวแดง หางยาว ปลายหางเป็นพู่ดกหนา เพศเมียมีขนตามลำตัวสีเทา ส่วนเพศผู้มีสีดำ ลูกเล็กมีสีน้ำตาลอ่อน เขามีลักษณะคล้ายเขาจามรี เขาของเพศผู้มีขนาดใหญ่มาก โคนเขาใหญ่และโค้งนูนออกลำเขาตีวงโค้งกว้างแล้วลาดมาด้านหน้า ปลายเขาวกบิดชี้ขึ้น เมื่อมีอายุได้ 4 ปี เปลือกเขาชั้นนอกตรงปลายจะเริ่มแตกออกเป็นพู่ ส่วนแกนเขาภายในจะค่อยๆงอกยาวออกมา เขาของกูปรีเพศเมียจะสั้นและเรียวบางกว่าเขาของเพศผู้ เขาตีออกเป็นวงแคบๆลาดมาทางด้านหน้าและบิดเวียนชี้ขึ้น ปลายเขาของตัวเมียจะ ไม่แตกออก บริเวณหน้าแข้งลงไปจนถึงปลายกีบทั้ง 4 ขาจะมีสีขาวคล้ายสวมถุงเท้า (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)

สมัน-01.webp
0803 อนุกรม แรดชวา_result.webp

ประชากรรวมทั่วโลก :

ประชากรในประเทศไทย :

?

?

0803 สถานะ กระซู่_result.webp
map_result.webp

กรูปรี อาศัยตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ หรือตามทุ่งหญ้าที่ไม่รกทึบนัก ที่มีแหล่งน้ำและ แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ในอดีตเชื่อว่ากูปรีมีประชากรประมาณ 250-300 ตัวกระจายอยู่ในภูมิภาคอินโดจีน ประเทศกัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย
ประเทศไทยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว เมื่อปี พ.ศ.2525 มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ปัจจุบันไม่มีผู้พบเห็นกูปรีในธรรมชาติ และไม่มีสวนสัตว์ใดเลี้ยงไว้ คาดการณ์กันว่า กูปรีน่าจะสูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว

ปัจจัยคุกคาม.webp
ชีววิทยา.webp
สายพันธุุ์ย่อย.webp
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือ สัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย (พศ.2550)
กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
bottom of page