top of page

นกแต้วแล้วท้องดำ



นกแต้วแล้วท้องดำGurney’s Pitta

Hydrornis gurneyi เป็นนกขนาดเล็ก เพศผู้และเพศเมีย มีสีสันแตกต่างกัน โดยเพศผู้ บริเวณหัวและท้ายทอยจะมีสีน้ำเงินเข้มแกมฟ้า บริเวณหน้าและหน้าผาก มีสีดำสนิท คอสีขาวครีม บริเวณคาง และใต้ปีกมีสีเหลืองสด ส่วนท้อง มีสีดำ หางมีสีฟ้าสด และส่วนปีกมีสีน้ำตาล ส่วนนกเพศเมีย หัวและท้ายทอยมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณตา และหลังตามีสีดำ คอสีเหลืองครีม ส่วนล่างของลำตัว มีสีขาวอมเหลืองและมีลายสีดำสั้นๆ คาดตามขวางลำตัว




ถิ่นที่อยู่อาศัย

พบแพร่กระจายบริเวณภาคใต้ของพม่า และภาคใต้ของไทย พบอาศัยตามป่าดิบชื้น และป่ารุ่น ในพื้นที่ราบ มักอาศัยตามลำพัง โดยกระโดดหากินแมลง ไส้เดือน หรือตัวอ่อนของแมลง ตามพื้นดิน ปัจจุบันเป็นนกประจำถิ่นที่หาได้ยาก และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง มีรายงานการพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จังหวัดกระบี่ แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก

นกแต้วแล้วท้องดำ จับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม ฟักไข่ประมาณ 10-14 วัน โดยทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันกกไข่ เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัว ทั้งพ่อและแม่จะกินเปลือกไข่ทั้งหมด เพื่อเป็นการอำพรางศัตรู


ที่มา หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

Comentarios


bottom of page