top of page

ปลาฉลามวาฬ




ปลาฉลามวาฬ
Whale shark
	ปลาฉลามวาฬ  จัดอยู่ในกลุ่ม ปลา (Fish) เป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลาทั่วไป คือ มีอุณหภูมิร่างกายใกล้เคียงกับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ เป็นปลากระดูกอ่อน คือกระดูกทั้งตัวยกเว้น ขากรรไกรและฟัน เป็นกระดูกแข็ง กระดูกอ่อนเป็นแบบเดียวกับกระดูกใบหูของคน มีขนาดตัวเมื่อโตเต็มวัย 5.5-12 เมตร น้ำหนักสูงสุดประมาณ 20 ตัน จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

 

ลักษณะ

ฉลามวาฬมีขนาดตัวที่ใหญ่มากโตเต็มที่อาจยาวถึง 50 ฟุต (15 เมตร) นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีหัวที่ใหญ่โตมาก เมื่อเทียบกับขนาดลำตัว ความกว้างของปากใกล้เคียงกับความกว้างของหัว มีปากที่ตำแหน่งด้านหน้าของหัว ซึ่งต่างจากฉลามโดยทั่วไปที่มีปากอยู่ในตำแหน่งด้านล่าง ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา


ส่วนท้องของปลาฉลามวาฬมีสีขาว หรือเหลืองอ่อน และในส่วนลำตัวมีสีตั้งแต่สีเทาดำ จนถึงสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลออกเขียว ที่ด้านหลังและ ด้านข้าง รวมถึงผิวด้านบนเหนือครีบหน้า (Pectorals) ฉลามวาฬจะมีจุดกลม ๆ ถี่ ๆ สีขาว หรือสีเหลือง เรียงเป็นแนวตามลำตัว จุดเล็กที่สุดจะอยู่บริเวณหัว ที่อื่น ๆ ซึ่งจุดเหล่านี้ใช้ในการระบุตัวของปลาฉลามวาฬได้ โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไป เป็นอัตลักษณ์ประจำตัว และอาจมีแถบเส้นแคบ ๆ สีขาว หรือ สีเหลืองพาดตามขวาง จุดสีขาวเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป


ฉลามวาฬแตกต่างจากปลาฉลามกลุ่มอื่น ๆ ตรงที่ ลักษณะของหัวซึ่งกว้างมาก เหมือนพวก Orectolobiform sharks อื่น ๆ มีปากกว้างอยู่ด้านหน้าของของหัว ช่องเปิด olfactory opening จะอยู่เหนือริมฝีปากบน ซ่อนอยู่ในร่องโพรงจมูก มีเส้นขน barbel อยู่ภายในร่อง คล้ายกับฉลามอีกพวก หนึ่งคือ carpetshark family พวก Nerse sharks คือวงศ์ Ginglymostomatidae ตาของฉลามวาฬจะมีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ด้านหลังของมุมปาก ( ขากรรไกร) ฉลามวาฬจะปิดตาของมันโดยการหมุนนัยน์ตา และดูดมันกลับไปสู่ที่หัวของมัน


ผิวหนังด้านหลังของฉลามวาฬจะสาก และเหนียวกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ผิวชั้นนอกถูกปกคลุมทับซ้อนกันระหว่างเกล็ดแข็ง ๆ ที่สารคล้ายสารเคลือบฟัน เป็นเสมือนชุดเกราะ เกล็ดแต่ละอันมีขนาดกว้าง 0.5 มิลลิเมตร ยาว 0.75 มิลลิเมตร แต่ละอันจะมีปลายแหลมยื่นออกมาลู่ไปทางด้านหลัง หนังชั้นในถัดลงไปจะเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งมีความหนาถึง 14 เซนติเมตร ส่วนหนังด้านท้องจะมีความอ่อนบาง และความหนาของหนังชั้นในจะมีความหนาเพียง 2/3 เท่าของความหนาของหนังด้านหลัง


ข้อมูล www.wildlifefund.or.th


อาหาร

ฉลามวาฬกินแพลงตอเป็นอาหาร ด้วยวิธีการกรองกิน โดยใช้การดูดน้ำเข้าปากแล้วกรองแพลงตอนผ่านช่องกรอง


การกระจายพันธุ์

ฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามแนวปะการังที่ความลึกไม่เกิน 700 เมตร สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการพบปลาฉลามวาฬทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน


แผนที่การกระจายพันธุ์ของปลาฉลามวาฬ ที่มา: IUCN


 

สถานภาพการอนุรักษ์

ปัจจุบันสถานภาพฉลามวาฬได้รับการประเมินสถานภาพเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Red List of Threatened Species) ของ IUCN โดยจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) สถานภาพการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562


 

ภัยคุกคามต่อเต่าปลาฉลามวาฬ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฉลามวาฬลดจำนวนลง คือ จากการทำการประมง แม้ว่าตัวฉลามวาเองจะไม่ใช่เป้าหมายหลักแต่มันก็ติดเครื่องมือประมงบ่อยและครีบของมันก็มีขนาดใหญ่และราคาดี อีกสาเหตุหนึ่งคือการนิยมดำน้ำดูฉลามวาฬซึ่งทำให้เรือเข้าไปใกล้ฉลามวาฬและถูกเรือชนเป็นประจำ นอกจากนี้แล้วปัญหาเรื่องไมโครพลาสติกที่ติดมากับแพลงก์ตอน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารพิษที่สะสมอยู่ในไมโครพลาสติกจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางชีวภาพ และส่งผลเสียต่อชีววิทยาการสืบพันธุ์​ของฉลามวาฬได้



ภาพ ไมโครพลาสติกที่พบในท้องของลูกปลาวัยอ่อนซึ่งเป็นอาหารของฉลามวาฬ

ที่มาภาพ: https://i.kinja-img.com/gawker-media/image/upload/ozw3qrjpeg8nl53hikoi.jpg


https://phuketaquarium.org/ปลาฉลามวาฬว่าที่สัตว์ป/





bottom of page