top of page

พะยูนหรือหมูน้ำ Dugong 




พะยูนหรือหมูน้ำ  Dugong 
	 "พะยูน”เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เชื่อว่าพะยูนเคยอาศัยหากินอยู่บนบก และมีบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของช้าง เมื่อราว 55 ล้านปีมาแล้วสายพันธุ์ของพะยูนได้มีวิวัฒนาการลงไปอยู่ในน้ำและไม่กลับขึ้นมาอยู่บนบกอีกเลย เช่นเดียวกับพวกโลมาและปลาวาฬ



ลักษณะทั่วไป 


พะยูนมีลำตัวรูปกระสวยคล้ายปลาโลมา สีเทาอมชมพูหรือสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเทา สีของส่วนท้องอ่อนกว่า วัยอ่อนมีลำตัวสีเทาอมชมพูและส่วนท้องสีชมพู ส่วนหัวยาวประกอบด้วยปาก รูจมูก และมีลักษณะคล้ายริมฝีปากที่หนาและขนาดใหญ่ เรียกรวมกันว่า MUZZLE มีขนสั้น ๆ ประปรายตลอดลำตัวและขนเส้นใหญ่อยู่อย่างหนาแน่นบริเวณปาก ตาและหูมีขนาดเล็ก ส่วนของหูเป็นรูเปิดเล็ก ๆไม่มีใบหู รูจมูกมีลิ้น ปิด-เปิด เฉพาะด้านหน้าของส่วนหัวโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อหายใจ ลิ้นเปิดรูจมูกเปิดขึ้นขณะหายใจเข้าและปิดลงก่อนที่พะยูนจะจมตัวลงที่ใต้ผิวน้ำ

พะยูนหายใจทุก ๆ 1-2 นาที มีครีบ (Flipper) ด้านหน้าอยู่สองข้างของลำตัว และมีหัวนม (Nipple) อยู่ด้านหลังของฐานครีบทั้งสองเพศ ในตัวเมียระยะโตเต็มวัยมีหัวนมใหญ่ชัดเจน (ความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร) ส่วนในตัวผู้หัวนมเป็นเพียงตุ่มเล็ก ๆ ครีบทั้งสองข้างเปลี่ยนแปลงมาจากขาคู่หน้า ภายในครีบประกอบด้วยนิ้ว 5 นิ้ว ครีบทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่และช่วยในการขุดหญ้าทะเล พะยูนว่ายน้ำโดยใช้การพัดโบกของครีบหาง เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักตัวประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม


 

สัดส่วน : เมื่อโตเต็มวัย

พะยูน ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ พบในประเทศอินเดีย มีน้ำหนักตัว 1,016 กิโลกรัม และมีความยาว 4.06 เมตร


 

อุปนิสัย : 

พะยูนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะหากินเป็นฝูงใหญ่ ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน ๑๓ เดือน และจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ ๙ ปี



 

ชีววิทยา :

ชอบอาศัยหากินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่ง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน


 

เขตแพร่กระจาย : 

พะยูนมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบไม่บ่อยนัก ทั้งในบริเวณอ่าวไทยแถบจังหวัดระยอง และชายฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล



 

สถานภาพ : 

ปัจจุบันพบพะยูนน้อยมาก พะยูนที่ยังเหลืออยู่จะเป็นกลุ่มเล็กหรืออยู่โดดเดี่ยว บางครั้งอาจจะเข้ามาจากน่านน้ำของประเทศใกล้เคียง พะยูนจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดโดยอนุสัญญา CITES ไว้ใน Appendix I


 

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : 

เนื่องจากพะยูนถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร ติดเครื่องประมงตาย และเอาน้ำมันเพื่อเอาเป็นเชื้อเพลิง ประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้ามาก นอกจากนี้มลพิษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามชายฝั่งทะเล ได้ทำลายแหล่งหญ้าทะเล ที่เป็นอาหารของพะยูนเป็นจำนวนมาก จึงน่าเป็นห่วงว่าพะยูนจะสูญสิ้นไปจากประเทศในอนาคตอันใกล้นี้


 

สายพันธุ์:



พะยูน (พบในประเทศไทย) Dugong Dugon (Muller,1776)

กระจายพันธุ์ในบริเวนชายฝั่งที่มีแนวหญ้าทะเล ในทะเลเขตร้อน และทะเลเขตกึ่งร้อนแถบมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก

(ภาพ : Roman/shutter)



วัวทะเลสเตลเลอร์  Dugong Dugon (Muller,1776) Steller,sea cow

กระจายพันธุ์บริเวนเขตอบอุ่นกึ่งหนาวถึงบริเวณเขตกึ่งขั้วโลก บริเวณช่องแคบแบริง ซึ่งอยู่ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อปี 2311 จากการล่าของมนุษย์ Nishi waki and Mash,1985 (ภาพ : Richard Ellis/SPL)



มานาตีแอฟฟริกาตะวันตก Trichechus senegalensis (Link,1795)

กระจายพันธุ์อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลน้ำกร่อย และน้ำจืด ในประเทศเซเนกัล ขึ้นไปถึงตอนใต้ของประเทสแองโกลา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา (ภาพ : Greg Amptman / Shutterstock)



มานาตีอเมซอล Trichechus senegalensis (Natterer,1883)

กระจายพันธุ์อยู่ในน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำอเมซอลในทวีปแอฟฟริกาใต้ (ภาพ : Doug Perrine / naturepl.com)



นามาตีอินเดียตะวันตก Trichechus senegalensis (Linnarus,1758)

กระจายพันธุ์บริเวณชายฝั่ง น้ำกร่อย และเเม่น้ำในฟลอริดา ทะเลแคริบเบียน ถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (ภาพ : Doug Perrine / naturepl.com)

bottom of page