top of page

ละอง, ละมั่ง



ละอง, ละมั่ง Eld’s Deer, Brow-antlered Deer ละองละมั่ง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกวางขนาดกลาง มีกีบคู่ ตามลำตัวมีขนหยาบและยาว สีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวขนจะยาวมาก





ลักษณะทั่วไป 

ละอง หรือละมั่ง เป็นกวางพื้นเมืองของไทย ละอง ใช้เรียกตัวผู้ตัวเต็มวัย ละมั่ง ใช้เรียกตัวเมีย และตัวที่ยังไม่เต็มวัย แต่นิยมเรียกละมั่งเหมือนกันทั้งหมด ลำตัวมีขนละเอียดสีน้ำตาลแกมเหลือง ขนด้านบนมีสีแดงอมน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาว หรือสีครีม มีขนสีขาวรอบหู ตา และคาง ลำคอยาว ใบหูใหญ่ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวผู้โตเต็มวัยมีขนหยาบยาวสีน้ำตาลเข้มบริเวณรอบคอ ละมั่งอายุน้อยจะมีลายจุดสีขาวตามตัว เมื่อโตขึ้นลายจุดจะหายไป แต่ในละมั่งเพศเมียตัวเต็มวัยบางตัวอาจยังปรากฏลายจุดจางๆให้เห็นอยู่ ละมั่งมีเขาเฉพาะเพศผู้ ลำเขาเป็นแกนกระดูกที่งอกติดกับกะโหลก หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะผลัดเขาทิ้งไป เขาละมั่งจะมีกิ่งรับหมายื่นยาวออกไปข้างหน้าตามแนวหน้าผาก ขณะที่ตัวลำเขาโค้งยาวไปด้านหลัง โดยกิ่งรับหมากับลำเขาเชื่อมต่อกันตรงโคนเขา เป็นเส้นโค้งต่อเนื่องเป็นลำเดียวกัน ปลายเขางอกลับคล้ายตะขอและแตกแขนง


ละมั่ง ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด ได้แก่


1. ละมั่งพันธุ์ไทย

Siamese Eld’s Deer

Panolia eldii siamensis


มีจำนวนเหลืองเพียงประมาณ 20 ตัว

โดยพบทางภาคตะวันออกของประเทศ


2. ละมั่งพม่า

Thamin

Panolia eldii thamin

มีจำนวนประมาณ 50-60 ตัว

โดยกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ




การกระจายพันธุ์


ประชากรรวม : น้อยกว่า 2,500 ตัว

ประชากรในประเทศไทย : 70 – 80 ตัว





พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

ละมั่ง มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 5-6 ตัว ในบางครั้งอาจเป็นฝูงถึง 50 ตัว มักอาศัยตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง หรือทุ่งหญ้าใกล้แหล่งน้ำ ตัวผู้มักอาศัยตามลำพัง จะเข้ารวมฝูงเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ละมั่งออกหากินช่วงเช้าและเย็น กลางวันมักจะนอนพักใต้ร่มไม้ บางครั้งตัวผู้อาจลงแช่ปลักบ้างในช่วงที่อากาศร้อน กินหญ้าและลูกไม้ ผลไม้ เป็นอาหารหลัก





ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


ภาพ : สมาคมอุทยานแห่งชาติ





bottom of page