top of page

วาฬบรูด้า Bryde's whale




วาฬบรูด้า Bryde's whale
	วาฬบรูด้า Bryde's whale เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล ลักษณะรูปร่างเคล้ายปลา คนจึงมักเรียกติดปากว่า “ปลาวาฬ” เป็นวาฬชนิดที่ไม่มีฟัน แต่จะมีซี่กรอง (Baleen Plates) สำหรับกรองอาหาร โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้า



ลักษณะทั่วไป 


วาฬรูด้า มีลำตัวเรียว ผิวหนังเรียบ ครีบหลัง (Dorsal fin) มีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางส่วนหาง มีซี่กรอง (Baleen plates) สำหรับกรองอาหารอยู่บริเวณขากรรไกรบน ใต้คางมีร่อง (Throat grooves หรือ Ventral Pleats) ร่องใต้คางนี้จะขยายออกในขณะที่กำลังกินอาหารเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรับเหยื่อ ร่องใต้คางนี้จะยาวพาดไปจนถึงสะดือ (Navel) สะดือตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางของความยาวลำตัว ครีบด้านข้างเรียกว่า Flipper ครีบหลัง แพนหางใหญ่ (Fluke) ส่วนตา (Eye) และหู (Ear) มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดตัว หูอยู่หลังลูกตา หูเป็นช่องเล็ก ๆ ซึ่งบางครั้งสังเกตเห็นได้ยาก มีช่องหายใจ 2 ช่อง (Double blow holes) และมีสันที่หัว 3 สัน ส่วนหัวเรียกว่า Rostrum ขากรรไกรล่าง (Lower jaws) มีลักษณะโค้งและยาว

 

สัดส่วน


 


ส่วนของหัว

ส่วนหัวมีแนวสันนูน 3 สัน ครีบหลังเล็กและปลายแหลม มีร่องใต้คาง 40-70 ร่องยาวเกือบถึงสะดือหรือพ้นแนวสะดือ


 

ส่วนของปาก

วาฬบรูด้าไม่มีฟัน แต่มีซีกรองเล็กๆสีเทา จำนวน 250-370 คู่ มีขนาดสั้น โดยยาวสูงสุด 0.4 ม.ไว้ใช้กรองอาหาร


 

ส่วนของหลังและผิวหนัง

ลำตัวเพรียวยาว สีเทาดำ ท้องสีอ่อน หรือชมพู ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางหางเป็นรูปสามเหลี่ยมค่อนข้างตั้งตรงปลาย ปลายครีบแหลม


 

ส่วนของหาง

แพนหางมีขนาดใหญ่ไว้ค่อยบังคับทิศทางว่ายน้ำ


 

พื้นที่การกระจายพันธุ์ วาฬบรูด้าสามารถพบเห็นได้ในอ่าวไทยหรืออ่าวตัว ก. หรือบริเวณอ่าวไทยตอนบน กินพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีไปถึงชลบุรี โดยในช่วงหน้าฝนประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม น้ำจืดจากแม่น้ำจะนำเอาธาตุอาหารต่างๆ ไหลลงทะเลและตกตะกอนเป็นหาดเลน แล้วพวกฝูงปลากะตักและปลาทู รวมถึงปลาเล็กปลาน้อยจำนวนมากก็จะเข้ามากินแพลงก์ตอนที่อ่าวไทยใกล้ชายฝั่ง และวาฬบรูด้าก็จะตามมากินปลาเหล่านี้อีกที ทำให้ในช่วงนี้เราจึงพบวาฬบรูด้าใกล้อยู่ชายฝั่ง บางทีห่างจากฝั่งไปแค่ 1-2 ก.ม.




 

สถานภาพของวาฬบรูด้าในไทย

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ได้ดำเนินการศึกษาจำแนกประชากรวาฬบรูด้าโดยการใช้ภาพถ่าย (Photo Identification, Photo-ID) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551- ปัจจุบัน อาศัยตำหนิบริเวณครีบหลัง ส่วนหัว ตลอดจนตำหนิบริเวณต่างๆ ตามลำตัว สามารถจำแนกความแตกต่างของวาฬบรูด้าได้มากถึง 59 ตัว วาฬบรูด้าบางตัวมีการเคลื่อนย้ายตามอาหารไปทางด้านล่างของอ่าวไทย เช่น บริเวณบ้านบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ บริเวณที่พบวาฬบรูด้านั้น อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลตั้งแต่ 4-30 กิโลเมตร สามารถพบวาฬบรูด้าได้ตลอดทั้งปีในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ช่วงเวลาที่พบบ่อยอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีปลากะตักและกุ้งเคยอุดมสมบูรณ์ 

วาฬบรูด้าในประเทศไทยพบหากินใกล้ชายฝั่ง อาหารคือ ปลากะตักแก้ว ปลากะตักควาย ปลาทู และเคยโกร่ง ปกติจะหากินแบบตัวเดียว ยกเว้นเฉพาะคู่แม่ลูกที่จะอยู่ด้วยกันตลอดเวลา



ข้อมูล https://km.dmcr.go.th/th/c_250/d_9775

bottom of page